วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2562




[ Pyramid Approach ]

ซื้อถัวขาขึ้น : แอดมินไม่ได้พิมพ์ผิดครับ ซื้อหุ้นตัวเดิมเพิ่มในตลาดขาขึ้น เปรียบเหมือนการออกหมัดรัวใส่คู่ชก เมื่อเค้าพลาดท่า เป้าหมายคือ "น็อคเอาท์" เช่นเดียวกันกับการซื้อหุ้นที่มีความเติบโตสูง (Growth Stock) ด้วยการไล่เก็บหุ้นเพื่อเป็นเจ้าของหุ้นตัวนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ต้องลงมือในตอนที่ตลาดเป็นขาขึ้นเท่านั้น ตลาดเป็นขาลงจะไม่มีการใส่เงินแม้แต่บาทเดียวเข้าไปในตลาดเด็ดขาด
-
ตลาดที่เป็นขาขึ้นจะทำให้หุ้นรายตัวมีความสดชื่น สดชื่นในที่นี้คือเหมือนกบโดนฝนแรกของปี ดี๊ด๊า กระโดดเล่นน้ำฝนสำราญใจ ทั้งนักลงทุนและนักเก็งกำไร รวมทั้งนักพนัน เข้าร่วมเล่นน้ำฝนด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วการที่ตลาดมีการเคลื่อนที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น มาจากการที่คนเหล่านั้นมองตลาดในเชิงบวก พูดง่ายๆคือ มีโอกาสทำกำไรมากกว่าขาดทุน สิ่งนี้จึงพาพวกเค้ามาหาผลประโยชน์ในตลาด
-
แอดมินก็เช่นกัน ตลาดเป็นขาขึ้นแอดมินต้องมา มาเพื่อหากำไรครับ (พูดตรงๆแบบนี้แหละ) และในตลาดแบบนี้แต่ละท่านก็มีหลักการซื้อขายที่ต่างกัน มีกลยุทธ์การซื้อขายที่ต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือต้อง 'มีกำไร' ติดมือกลับไป วันนี้แอดมินมีกลยุทธ์การทำกำไรจากการซื้อเพิ่มในหุ้นตัวเดิม เมื่อหุ้นตัวนั้นทำกำไรให้เราได้แล้ว และอยู่ในตลาดขาขึ้น (ในที่นี้คือ SET)
-
จุดเริ่มต้นอยู่ที่จุดแรกซื้อที่เราตัดสินใจซื้อ ไม้ที่ 1 ไม่ว่าจะเป็นการซื้อด้วยเงื่นไขใดก็ตามแต่ละท่านจะมีเงื่อนไขการเข้าซื้อไม่เหมือนกัน สำหรับแอดมิน จะซื้อที่จุด Pivot buy point เป็นจุดแรกที่ราคาเทคตัวผ่านกรอบราคาสะสมมานาน 6 เดือนถึง 1 ปี เมื่อราคาปูดขึ้นมาพร้อมกับ Volume ไม้แรกของแอดมินจะเกิดขึ้นที่นี่ การซื้อไม้แรกจะซื้อด้วยเงินที่มากที่สุดเหมือนฐานล่างสุดของพีรามิด เช่นในกรณีนี้สมมติ 100บาท
-
หลังจากนั้นไม้ที่สองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหุ้นตัวนั้นทำกำไรให้แอดมินได้แล้ว ราคาขยับขึ้นมาได้ซักระยะแล้วจากนั้นไม่นานเค้าก็อยู่ในสถานะพักตัว (ราคาไม่มีการขยับ สลัดนักลงทุนระยะสั้นออกไป เปลี่ยนมือให้กับผู้ที่มีความต้องการเป็นเจ้าของหุ้นตัวนั้นจริงๆ) ตอนที่อยู่ในสถานะพักตัวนี้เองที่ไม้ที่ 2 เกิดขึ้น จะซื้ออีก 50บาท นั่นคือ 50% ของเงิน100บาทที่ซื้อไม้แรก ถามว่าซื้อไม้ที่สองต้องซื้อตอนไหน มันมีอยู่ 2 กรณีครับ 

A) ซื้อตอนราคาดีดกลับ (Pull Back) หมายถึงตัวหุ้นถูกมหาชนกลับซื้ออีกครั้งหลังพักตัวทำให้วันนั้นเกิดแท่งเขียวยาวบ่งบอกว่าเป็นสัญญาณของการเดินทางต่อไป หรือ 

B) ซื้อตอนราคาย่อตัว (Buy on dip) หมายถึงซื้อตอนที่ราคาพักตัวไร้คนสนใจ ข้อ B นี้เองที่แอดมินใช้เป็นจังหวะในการซื้อไม้ที่ 2 ซึ่งก็เป็นจำนวนเงินเปรียบเหมือนฐานถัดมาของพีรามิดในขั้นที่สูงขึ้น
-
จะเห็นว่า ต้นทุนเราจะสูงขึ้นกว่าไม้แรกใช่ไหม ตอบว่าใช่ แล้วทำไมต้องทำให้ต้นทุนมันสูงขึ้นด้วยล่ะ? ตอบว่า 
1) หุ้นทำกำไรให้เราได้แล้ว
2) หุ้นนั้นเป็นเทรนในขาขึ้นแล้ว (Mark up state)
3) ตลาดรวมก็เป็นขาขึ้น (ในที่นี้คือ SET)
4) หุ้นที่เราซื้อตัวนั้นต้องเป็นหุ้น Growth stock (หุ้นที่มีกำไรเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ

*** เราต้องมีหุ้นดีในมือให้มากที่สุด และอยู่กับหุ้นตัวนั้นให้นานที่สุด นี่คือเป้าหมายของการซื้อถัวในตลาดขาขึ้น เค้าจะทำกำไรให้เราได้มากขึ้น นี่ไงคือ การรัวหมัดกะเอาชนะน็อค
-
ไม้ที่3 ล่ะ ซื้อตอนไหน ก็ซื้อในเงื่อนไขเดียวกันกับไม้ที่ 2 นั่นเอง ให้ราคาเค้าเกิดการพักตัวใน Step ต่อไป เราก็ซื้อไม้ที่3 อีก 25% (ครึ่งหนึ่งของไม้ที่2) หรือ 25 บาทสุดท้าย เปรียบเหมือนฐานของพีรามิดในชั้นบนขึ้นมาอีก อันที่จริงแล้ว เราสามารถซื้อได้มากกว่า 3 ครั้ง กรณี PTG ของแอดมินซื้อทั้งหมด 5 ไม้ 
https://drive.google.com/open?id=1kf6LiYWc2iWaCAsYaSCv54CwY3dUh7oB
เป็นชัยชนะที่เปลี่ยนพอร์ตของแอดมินไปเลยตลอดกาล 
-
นี่คือการซื้อถัวขาขึ้นที่แอดมินใช้ทำกำไรในตลาดขาขึ้น

#Meegumrai168






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

[ b i g 7 s h o t s i n 3 y e a r s ] http://lnnk.in/iWX ตั้งแต่ปี  2016  เรามีโอกาสทำเงินได้กี่ครั้ง สำหรับแอดมินมองว่ามี...